のんびりする ; )

ลัทธิโยเร คืออะไร? ความสุภาพอ่อนโยน ความสงบเสงี่ยม และความสะอาด

970

- Advertisement -

“ลัทธิโยเร” มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เซไกคีวเซ” ลัทธิเซไกคีวเซ (ญี่ปุ่น: 世界救世教; โรมาจิ: Sekai Kyūsei Kyō)

ในไทย เป็นที่รู้จักในชื่อ ลัทธิโยเร เป็นหนึ่งในศาสนาใหม่ของญี่ปุ่น เกิดขึ้นจากการผสานความเชื่อของลัทธิชินโต ศาสนาพุทธนิกายมหายาน และหลักจริยธรรมสากล

Meishu Sama's Johrei
Meishu Sama’s Johrei

ลัทธิเซไกคีวเซ ก่อตั้งโดยโมกิจิ โอกาดะ (ญี่ปุ่น: 岡田茂吉; โรมาจิ: Okada Mokichi) เมื่อ พ.ศ. 2478 มีความเชื่อเรื่องการส่งพลังแสง (หรือเรียกว่า แสงทิพย์) แห่งผ่านฝ่ามือสู่ร่างกายเพื่อจุดประสงค์ในการรักษา เรียกว่า โยเร (ญี่ปุ่น: 浄霊; โรมาจิ: Jōrei)

และยังมีแนวปฏิบัติอื่นโดยเฉพาะเรื่องความงามและศิลปะจากธรรมชาติ เช่น เกษตรกรรมธรรมชาติ และการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น

โมกิจิ โอกาดะ เกิดในครอบครัวที่นับถือศาสนาพุทธ ต่อมาได้หันไปนับถือลัทธิชินโต สายโอโมโตะ (ญี่ปุ่น: 大本; โรมาจิ: Ōmoto)[13]

โดยอ้างตัวว่า ได้รับวิวรณ์จากพระเป็นเจ้า ซึ่งมอบอำนาจให้เขาใช้พลังของพระเป็นเจ้าด้วยการใช้แสงสำหรับการรักษา เพื่อขจัดความเจ็บป่วย ความยากจน ความขัดแย้ง และชำระอาณาจักรแห่งจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์

เขาจึงรับหน้าที่เป็นศาสนทูตคอยเผยแผ่ศาสนาของตนเองแก่ผู้คน โดยสาวกจะเรียกเขาว่า เมชูซามะ หรือเอกสารไทยเรียก เมซึซามะ (ญี่ปุ่น: 明主様; โรมาจิ: Meishū-sama, “ท่านแห่งแสง”)

Meishu Sama's Johrei
Meishu Sama’s Johrei

ศาสนิกชนจะสวมจี้ โอฮิการิ ซึ่งในไทยจะเรียกว่า เหรียญ โดยมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิเปล่งรัศมี

การรับเหรียญดังกล่าว จะเรียกว่า “การรับพระ” ซึ่งต้องใช้เงินซื้อมา และต้องอบรมศาสนาราว 2-3 วัน จึงจะเข้าเป็นศาสนิกโดยสมบูรณ์

มิโฮโกะ โคยามะ ก่อตั้งองค์กรชินจิชูเมไก (ญี่ปุ่น: 神慈秀明会; โรมาจิ: Shinji Shūmeikai) เมื่อ พ.ศ. 2513 เพื่อเผยแผ่คำสอนของโมกิจิ โอกาดะ

วินสตัน เดวิส (Winston Davis) นักมนุษยวิทยาด้านศาสนา ให้ความเห็นเกี่ยวกับลักษณะของลัทธิมาฮิการิ (真光系諸教団) และลัทธิเซไกคีวเซ ซึ่งต่างก็เป็นศาสนาใหม่ของญี่ปุ่นไว้ว่า “ลัทธิมาฮิการิเหมือนกับลัทธิเซไกคีวเซ เพราะปฏิบัติพิธีกรรมการรักษาแบบเดียวกัน”

ลัทธิ “โยเร” ในประเทศไทย

ลัทธิเซไกคีวเซ หรือ โยเร เข้าสู่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2511 โดยคาซูโอะ วากูกามิ ศาสนาจารย์คณะผู้เผยแผ่มาตั้งรกรากในประเทศไทย

- Advertisement -

โดยเริ่มการเผยแผ่คำสอนโดยการแปลเอกสารทางศาสนา และก่อตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมในประเทศไทย

จึงได้ทำการจดทะเบียนโดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา” เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกอยู่ที่ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร

ขณะนั้น มีศาสนิกชนอยู่ทั้งหมด 40 คน ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2519 กรมการศาสนารับรองให้ มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา เป็นองค์กรศาสนาย่อยของศาสนาพุทธนิกายมหายาน

ลัทธิเซไกคีวเซเริ่มวางนโยบายเผยแผ่ศาสนาแก่ลูกหล่านเกษตรกรในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยในช่วง พ.ศ. 2521–2524 มีศาสนิกชนเพิ่มขึ้นเท่าตัว มีการสร้างสถานปฏิบัติธรรมหรือโบสถ์ของลัทธิในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย สระบุรี และย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ซอยสีฟ้า ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร

กระทั่ง พ.ศ. 2527 ได้ทำการเพิกถอนสถานะการเป็นนิกายของศาสนาพุทธนิกายมหายานลง จึงถูกลดสถานะกลับเป็นมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนาตามเดิม

พวกเขามีกิจกรรมสนับสนุนทุนการศึกษาศาสนาพุทธแก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี และการต่อต้านยาเสพติด รวมทั้งปรับปรุงวิธีการเผยแผ่ศาสนาด้วยการสนับสนุนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวัฒนธรรมไทย

Johrei Coin
Johrei Coin

ผู้ที่จะเข้ารีตลัทธิเซไกคีวเซจะต้องรับจี้ โอฮิการิ หรือที่เข้าเรียกว่า การรับพระ ซึ่งมีค่าใช้จ่าย ต้องคอยปฏิบัติศาสนกิจเรียกว่า กิจกรรมพระ (คือพระศรีอริยเมตไตรย) ได้แก่ การซัมไป (สักการะ) การโยเร และ การโฮชิ (บำเพ็ญประโยชน์) รวมทั้งต้องเผยแผ่ศาสนาเพื่อเพิ่มจำนวนศาสนิกชนให้มากขึ้น

มีคำสอนสำคัญแก่สมาชิก คือ ความสุภาพอ่อนโยน ความสงบเสงี่ยม และความสะอาด

ที่สำคัญที่สุดคือ การทำโยเร หลังการรับพระพวกเขาจะบูชาเหรียญพระโยเร โดยกล่าวคาถาบูชาว่า “ขออำนาจพระศรีรัตนตรัยและท่านเมซึซามะ ขอให้คนข้างหน้าจงมีความสุข” หรือบ้างก็กล่าวว่า “ขออำนาจบารมี คุณพระศรีอริยเมตไตรย และท่านเมซึซามะ โปรดประทานแสงทิพย์ เพื่อชำระเมฆหมอกความขุ่นมัว”

จากนั้นจะยกมือขึ้นระดับศีรษะ หันมือเข้าหาผู้รับแสง ยกค้างไว้ 10-15 นาที วันละครั้งหรือสองครั้ง เพราะเชื่อว่าเป็นการรักษาโรคภัย

ที่มาข้อมูล : wikipedia.org

ที่มารูปภาพ : tohonohikari.or.jp

- Advertisement -

Comments are closed.

google-site-verification=_V4vB9vv2dx8TIcUMgf5EQ4kr_xoP3Y8vc4Ynms5gc0